แบบจำลองทางการเงิน Simulation on Financial Modeling

แบบจำลองทางการเงิน Financial Modeling

หน้าที่หลักของธุรกิจ.....

การดำเนินธุรกิจโดยทั่วไปจะประกอบด้วยหน้าที่หลัก 3 ประการคือ ด้านการตลาด การผลิต และการเงิน แต่ละหน้าที่ล้วนมีความจำเป็นและเกี่ยวข้องชึ่งกันและกันและมีความสลับซับซ้อนมา  การบริหารจัดการทางธุรกิจในปัจจุบันจึงต้องมีเครื่องมือ ในการจัดการหลายรูปแบบ ที่เรียกว่าแบบจำลอง
รูปแบบธุรกิจ (Business Model) คือ กระบวนการของเชื่อมโยง สัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท ในการสร้างและส่งมอบคุณค่าผ่านสินค้า/บริการไปยังลูกค้าเป้าหมาย Business Model ถือได้ว่าเป็นแกนหลักสำคัญในการวางแผนบริหารองค์กรธุรกิจ ซึ่งสำคัญไปถึงการที่จะจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้เป็นแผนธุรกิจที่ดีและมีความสมบูรณ์ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการในการคิด Business Model นี้ และยังเป็นสิ่งที่ช่วยในการกำหนดการเริ่มต้นดำเนินการของธุรกิจ การปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการ หรือพัฒนาธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Business Model สามารถแปลคำจำกัดความเป็นในภาษาไทยได้คือ รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายว่ากิจการธุรกิจ จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างไร โดยการสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า กิจการที่กำลังพิจารณานั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรได้บ้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับบริษัทฯ หรือหากมองจากอีกมุมหนึ่ง Business Model ก็คือ วิธีการในการเปลี่ยนนวัตกรรมให้มีคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับธุรกิจนั่นเอง ทั้งนี้ Business Model มีความแตกต่าง และไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า แผนธุรกิจ ที่รู้จักกันดีว่าคือ Business Plan เพราะ Business Plan คือรายละเอียดของการดำเนินการและการคาดหมายผลประกอบการของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดจำนวนมากรวมทั้ง Financial Projections ซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้หากเราต้องการระดมเงินทุนจากนักลงทุนหรือกู้เงินจากสถาบันการเงิน

แบบจำลองทางการเงิน Financial Model เป็นรูปแบบของรายละเอียดทางการเงินทำให้เห็นภาพวงจรการเคลื่อนไหวของ ระบบเงินในธุรกิจ โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงานของกิจการในอดีตมาแสดง การมองภาพการเงินในอนาคตในรูปของงบการเงินล่วงหน้าเพื่อวางแผนและตัดสินใจทางการเงินในอนาคตจึงค่อนข้างคลาดเคลื่อน เนื่องจากข้อมูลในอดีตมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกับในปัจจุบันและอนาคต เทคนิค Monte Carlo Simulation จึงถูกนำมาใช้ในการจำลองเหตุการณ์(Simulation)ที่เกิดกับระบบการเงินในอนาคต

การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Excel
ในโปรแกรม Excel มีฟังก์ชันที่ใช้ในการสุ่มค่าตัวแปร ฟังก์ชัน =RAND()” ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการสร้างตัวเลขสุ่ม (Random Number) ขึ้นมา แต่จะถือว่าเป็นตัวเลขสุ่มแบบเทียม (Pseudo-Random Numbers) ตัวเลขสุ่มที่ได้จากฟังก์ชัน =RAND() จะมีค่าอยู่ในระหว่าง 0 ถึง 1 โดยทั่วไปตัวเลขสุ่มที่ได้จากฟังก์ชัน =RAND() จะมีคุณสมบัติ 2 ประการ ดังนี้
              1. ในแต่ละครั้งที่มีการใช้ฟังก์ชัน =RAND() ตัวเลขที่จะได้จากการสุ่มทุกค่า (ระหว่าง 0 ถึง 1) จะมีโอกาสหรือมีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นเท่ากันทุกค่า เช่น ถ้าค่าที่เกิดขึ้นจากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 0.10 แสดงว่าค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.10 (10%) หรือหากค่าตัวเลขที่ได้จากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.65 ถึง 0.75 แสดงว่ามีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 10% เช่นเดียวกัน หรือหากค่าตัวเลขที่ได้จากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 แสดงว่ามีค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดตัวเลขดังกล่าว 60% (0.60)
              2. ตัวเลขสุ่มที่เกิดขึ้นแต่ละค่า จะเป็นอิสระจากกัน เช่น ตัวเลขสุ่มที่เกิดขึ้นในช่องเซลล์ A2 จะไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของตัวเลขสุ่มในช่องเซลล์ A3 เลย


บทความที่น่าสนใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการวิเคราะห์น้ำเสียภาษีชำระเงินในประเทศไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น