การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ1 (Quantitative Risk Analysis1)

การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk Analysis)

การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง
-     ผู้ตัดสินใจทราบโอกาสของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น  (ทราบความน่าจะเป็นของการเกิดขึ้นของผลลัพธ์)
-    ใช้วิธีการตัดสินใจโดยการหาค่าคาดหวังของผลตอบแทน  (Expected Value of the   pay off)  (ตำราภาษาอังกฤษบางเล่มจะใช้  Expected Monetary Value : EMV)




ในส่วนที่1 เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการคำนวณค่า EMV ในรูปของ Table&Tree
ตัวอย่างการตัดสินใจลงทุนภายใต้ความเสี่ยง


การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk Analysis)
อ้างอิง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตตินุช ชุลิกาวิทย์

การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative risk analysis) เป็นการวัดความเป็นไปได้และผลที่จะตามมาของความเสี่ยง และการประมาณการผลกระทบที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะมีต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในลักษณะนี้ มักจะถูกจัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพเสร็จสิ้นลง แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ทั้ง 2 ลักษณะ อาจจะถูกจัดทำขึ้นพร้อมๆ กัน หรือถูกจัดทำแยกกันก็ได้ ทีมงานของโครงกาบางโครงการอาจทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพเพียงอย่างเดียวก็เป็นไปได้ ซึ่งธรรมชาติของโครงการและงบประมาณด้านเงินทุนและเวลา มีผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โครงการที่มีขนาดใหญ่ ล้ำสมัย และซับซ้อนมักจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณหลากหลายวิธีพร้อมๆ กัน วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงปริมาณที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ Decision tree analysis
การวิเคราะห์ Decision tree เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการสร้างแผนผังเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันว่า ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน หรือไม่สามารถทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจน เทคนิคที่มักถูกนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ Decision tree ได้แก่ การคำนวณค่าเงินในอนาคต (Expected monetary value – EMV) ซึ่งเป็นผลคูณของความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสี่ยงและค่าเงินของความเสี่ยงนั้นๆ  รูป แสดงการคำนวณค่า EMV โดยอาศัยการวิเคราะห์ Decision tree เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกดำเนินโครงการใดโครงการหนึ่งใน 2 โครงการ คือ Project #1 และ Project #2 หรือเลือกดำเนินทั้ง 2 โครงการ (ถ้าเป็นไปได้) หรือไม่เลือกดำเนินโครงการใดเลย
              การหาค่า EMV จำเป็นจะต้องทำการประมาณการค่าความน่าจะเป็น (P) หรือโอกาสที่เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์จะเกิดขึ้นและการประมาณการผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยอาศัยการใช้วิจารณญาณของผู้ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในโครงการที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่าง เช่น จากรูป ทีมงานโครงการได้ประเมินแล้วว่า Project #1 มีโอกาสที่จะได้ทำสัญญาดำเนินการจริงอยู่ประมาณ 20% (P = 0.20) และจะสามารถทำกำไรให้กับกิจการและทีมงานประมาณ 300,000 บาท  ขณะที่ความน่าจะเป็นที่โครงการดังกล่าวจะไม่ได้รับการพิจารณาจากผู้ว่าจ้างมีถึงประมาณ 80% (P = 0.80) ซึ่งจะทำให้กิจการต้องสูญเสียเงินทุนประมาณ 40,000 บาท โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก  การประมาณการค่าความน่าจะเป็นและผลสัมฤทธิ์ของ Project #2 ก็สามารถกระทำได้ในลักษณะเดียวกับ Project #1


โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่า ผลรวมค่า EMV ของ Project #1 เท่ากับ 28,000 บาท (60,000 – 32,000) ขณะที่ผลรวมค่า EMV ของ Project #2 เท่ากับ 30,000 บาท (-10,000 – 2,000 + 42,000) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า จากผลการวิเคราะห์ ทั้ง Project #1 และ Project #2 เป็นโครงการที่มีโอกาสจะทำกำไรให้กับกิจการได้ เนื่องจากค่า EMV โดยรวมเป็นค่าบวกทั้ง 2 โครงการ ดังนั้น ในกรณีที่กิจการมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากร เช่น ด้านเงินทุน ด้านเวลา และด้านบุคลากร เป็นต้น และจำเป็นที่จะต้องเลือกดำเนินโครงการใดโครงการหนึ่งใน 2 โครงการดังกล่าวเท่านั้น กิจการควรตัดสินใจเลือกดำเนิน Project #2 เนื่องจากมีค่า EMV โดยรวม (30,000 บาท) สูงกว่าค่า EMV โดยรวมของ Project #1 (28,000 บาท)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น