ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ภายใต้ความเสี่ยง
Decision Support System under Risk
ทฤษฎีการตัดสินใจ
เป็นวิธีการเชิงระบบและเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้ศึกษาการตัดสินใจ
วิธีการเชิงระบบ คือ
มีปัจจัย (Input) มีกระบวนการ (Process) และ ผลลัพธ์ (output)
วิธีการเชิงวิเคราะห์ คือ การใช้เหตุผล
(logic) พิจารณาตัวแปรทุกตัวที่หาได้หรือข้อมูลที่มีอยู่
พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้โดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคเชิงปริมาณ
ขั้นตอนในทฤษฎีการตัดสินใจ (กระบวนการตัดสินใจ)
1. กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
2. จำแนกทางเลือกที่เป็นไปได้
3. ในแต่ละทางเลือกชี้ผลลัพธ์ที่ได้
4. แสดงผลได้
- ผลเสีย ในแต่ละส่วนผสมของทางเลือกรวมทั้งผลได้ - ผลเสียของผลลัพธ์
5. เลือกเทคนิคการตัดสินใจเชิงคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมมาใช้
6. นำเทคนิคมาใช้
และทำการตัดสินใจ
การวิเคราะห์ Decision tree เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการสร้างแผนผังเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันว่า
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน
หรือไม่สามารถทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจน
เทคนิคที่มักถูกนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ Decision tree ได้แก่ การคำนวณค่าเงินในอนาคต (Expected monetary value – EMV) ซึ่งเป็นผลคูณของความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสี่ยงและค่าเงินของความเสี่ยงนั้นๆ
ขั้นตอนการทำ Decision Tree Model
1. กำหนดปัญหา
2. วาดโครงสร้าง
3. กำหนด
Prob ในแต่ละสภาวการณ์
4. ประเมินผลได้
– ผลเสียในแต่ละทางเลือกในสภาวการณ์ต่าง ๆ กัน
ตัวอย่าง วิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ ด้วย Excel-Addin TreePlan
ตัวอย่างการตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน
สมมติว่า
เทศบาลแห่งหนึ่งมีโครงการก่อสร้างตลาดแห่งใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนขณะเศรษฐกิจเติบโต
โดยเทศบาลให้มีการศึกษาความน่าจะเป็นรวมทั้งค่าใช่จ่ายในการก่อสร้างจากทางเลือก 3
ทาง คือ สร้างตลาดขนาดใหญ่ สร้างตลาดขนาดกลางและไม่ก่อสร้างตลาดเลย
ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
ทำการคำนวณย้อนกลับจะได้ผลตอบแทนภายใต้ความแน่นอน
คือ
A1 =
(200,000) (0.5) + (-180,000) (0.5) = 10,000 บาท
A2 =
(100,000) (0.5) + (-20,000) (0.5) =
40,000 บาท
A3
= 0(0) + 0(0) = 0 บาท
จะเห็นว่า
ด้วยการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขาซึ่งคำนวณภายใต้หลักการของความน่าจะเป็น
สรุปได้ว่า เทศบาลควรสร้างตลาดขนาดกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น