Decision Support System for analyze Marketing case1

การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Excel



ในโปรแกรม Excel มีฟังก์ชันที่ใช้ในการสุ่มค่าตัวแปร ฟังก์ชัน =RAND()” ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการสร้างตัวเลขสุ่ม (Random Number) ขึ้นมา แต่จะถือว่าเป็นตัวเลขสุ่มแบบเทียม (Pseudo-Random Numbers) ตัวเลขสุ่มที่ได้จากฟังก์ชัน =RAND() จะมีค่าอยู่ในระหว่าง 0 ถึง 1
โดยทั่วไปตัวเลขสุ่มที่ได้จากฟังก์ชัน =RAND() จะมีคุณสมบัติ 2 ประการ ดังนี้
              1. ในแต่ละครั้งที่มีการใช้ฟังก์ชัน =RAND() ตัวเลขที่จะได้จากการสุ่มทุกค่า (ระหว่าง 0 ถึง 1) จะมีโอกาสหรือมีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นเท่ากันทุกค่า เช่น ถ้าค่าที่เกิดขึ้นจากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 0.10 แสดงว่าค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.10 (10%) หรือหากค่าตัวเลขที่ได้จากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.65 ถึง 0.75 แสดงว่ามีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 10% เช่นเดียวกัน หรือหากค่าตัวเลขที่ได้จากการสุ่มอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 แสดงว่ามีค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดตัวเลขดังกล่าว 60% (0.60)

              2. ตัวเลขสุ่มที่เกิดขึ้นแต่ละค่า จะเป็นอิสระจากกัน เช่น ตัวเลขสุ่มที่เกิดขึ้นในช่องเซลล์ A2 จะไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของตัวเลขสุ่มในช่องเซลล์ A3 เลย


ตัวอย่าง Simulation in Excel for Marketing Case1

ต้นทุนสินค้า                         150   บาทต่อชิ้น
 ค่าขนส่ง                                50   บาทต่อชิ้น
 ราคาขาย                            300   บาทต่อชิ้น
ต้องการกำไร 10,000 บาท  ต้องขายทั้งหมดกี่ชิ้น
          300 - (150+50) = 100

ต้องขายกี่ชิ้น  จึงได้กำไร 10,000 บาท
          10000 = 100 * x
                x   =  100
ค่าขนส่ง
 ส่งสินค้า  1 ชิ้น       50  บาทต่อชิ้น
 ส่งสินค้า  2 ชิ้น       40  บาทต่อชิ้น
 ส่งสินค้า  3 ชิ้น       30  บาทต่อชิ้น
 ส่งสินค้า 4ชิ้นขึ้นไป  20  บาทต่อชิ้น
กำไรต่อ 1 ชิ้น     300 - (150+50) = 100
หายอดขายสินค้าต่อครั้ง จากแบบจำลอง


                                         ฮิตโตแกรม     
  


ใช้จำนวนสินค้าเฉลี่ยต่อใบสั่งซื้อ
ต้นทุนต่อชิ้น   = 150+40
                     = 190 บาท
กำไรต่อชิ้น    =  300 -190
                     =  110 บาท
ต้องขายทั้งหมดกี่ชิ้น จึงได้กำไร 10,000 บาท

                 10000 = x*110
                       x    = 91

จำลองยอดขาย


วิเคราะห์ ใบสั่งซื้อที่ 1
Rand1 = 0.30432                          
จำนวนชิ้นในใบสั่งซื้อที่ 1  เท่ากับ  1
 กำไรต่อชิ้นเท่ากับ 100 บาท
 กำไรรวม เท่ากับ 100 บาท
ใบสั่งซื้อที่ 2
Rand2 = 0. 66387                         
จำนวนชิ้นในใบสั่งซื้อที่ 2  เท่ากับ  3
กำไรรวม = 100 +120*3  =  460 บาท
ใบสั่งซื้อที่ 3
Rand3 = 0.95631                          
จำนวนชิ้นในใบสั่งซื้อที่ 3  เท่ากับ 5
กำไรรวม = 460 +130*5  =  1,010 บาท

ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ทำการจำลอง 50 ครั้ง

ผลการสร้างแบบจำลอง

วิเคราะห์การลดราคาสินค้าเมื่อปริมาณซื้อเพิ่มขึ้น

การลดราคาสินค้าเมื่อปริมาณซื้อเพิ่มขึ้น
 ซื้อมากกว่า 3 ชิ้นต่อหนึ่งใบสั่งซื้อ  ราคา    280  บาทต่อชิ้น
 ซื้อมากว่า 5 ชิ้นต่อหนึ่งใบสั่งซื้อ ราคา    250  บาทต่อชิ้น

1. ซื้อมากกว่า 3 ชิ้นต่อหนึ่งใบสั่งซื้อ ราคา    280  บาทต่อชิ้น
     ดังนั้นเมื่อซื้อ 1-3 ชิ้น กำไรเท่าเดิม
     แต่เมื่อ 4 ชิ้นและ 5 ชิ้น จะได้กำไรลดลง 20 บาทต่อชิ้น
     จากกำไรชิ้นละ 130 เป็น 110 บาทต่อชิ้น
2. ซื้อมากกว่า 5 ชิ้นต่อหนึ่งใบสั่งซื้อ ราคา    250  บาทต่อชิ้น
      ดังนั้นเมื่อซื้อ 6 ชิ้นขึ้นไป จะได้กำไรลดลง 50 บาทต่อชิ้น
      จากกำไรชิ้นละ 130 เป็น 80 บาทต่อชิ้น
      จากที่โจทย์ให้มาไม่มีการซื้อจำนวน 6 ชิ้นต่อใบสั่งซื้อ





                   



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น